การฝึกสมาธิในวิชาพละและในการกีฬา

ที่ASBGVเราได้รวมการฝึกสติเข้ากับทั้งวิชาPEและโปรแกรมนักกีฬา ครูพละและทีมโค้ชของเราได้เรียนการฝึกสติ เพื่อใช้ในชั้นเรียน และระหว่างการฝึกซ้อม หรือเล่นกีฬากันเป็นทีม

"ประโยชน์ของการฝึกสติให้กับนักกีฬา ได้รับการพิสูจน์แล้วจากนักเรียนจำนวนมาก ว่าการฝึกสติทุกวัน วันละ5-10นาที หรือการบูรณาการเข้ากับวิชาพละจะสามารถช่วยนักเรียนให้ลดความเครียดและความวิตกกังวล เพิ่มสมาธิ และทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น เพิ่มพัฒนาทักษะทางสังคม และพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ"

กีฬาเป็นหนึ่งในกิจกรรมต้องใช้สมาธิมากที่สุด เมื่อเล่นกีฬาผู้เล่นจะจดจ่ออยู่ในช่วงเวลานั้น และการแข่งขันเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นกีฬาที่ส่งเสริมเยาวชนในแง่ดี นักเรียนฝึกฝนอย่างหนักในการเล่นเข้าทีมกันการฝึกฝนอย่างหนักแสดงให้เห็นถึงความพยายาม ความรัก และการฝึกฝนที่ถูกต้องจะช่วยดึงศักยภาพของนักเรียนออกมาได้อย่างดีที่สุด
โดยการเล่นอย่างสนุกสนานเป็นทีมควรเป็นสิ่งที่สำคัญ และทำให้พวกเขามีความสุขมากพอๆกับการได้รับชัยชนะ ในขณะเดียวกันความพ่ายแพ้ก็นับว่าเป็นบทเรียนอันมีค่าเช่นกัน นักเรียนต้องเรียนรู้ที่จะยอมรับกับความผิดหวังเมื่อแพ้ในการแข่งขัน วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับความรู้สึกผิดหวังเสียใจนั้นเป็นส่วนสำคัญที่ว่าทำไมการฝึกสติยังคงมีส่วนร่วมการเล่นกีฬาของนักเรียน และเราควรให้นักเรียนมีทักษะในการจัดการกับความรู้สึกเหล่านั้นโดยใช้การฝึกสติ

ข้อมูลด้านล่างนี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัย และผลลัพท์ของการฝึกสติร่วมกับการเล่นกีฬา

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

การเตรียมจิตใจ ปรับสภาพจิตใจให้เหมาะสมกับการฝึกสติ สมาธิ และการเตรียมความพร้อมทางร่างกายนั้นเกี่ยวข้องกัน การใช้สติเชื่อมโยงกับระบบต่างๆของร่างกาย และส่งผลต่างๆดังต่อไปนี้ เช่น คอร์ติซอลที่ทำเกิดการหลั่งน้ำลายก่อนการแข่งขันลดลง สัมพันธ์ต่อเนื่องกับความเครียดก่อนการแข่งขัน (John, Verma, & Khanna, 2011), อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักลดลง
(Hewett, Ransdell, Gao, Petlichkoff และ Lukas, 20011) และความไวต่อความเจ็บปวดลดลง (Kingston, Chadwick, Meron, & Skinner, 2007;Zeiden, Gordon, Merchant, & Goolkasian, 2010) ผลกระทบทางสรีรวิทยาเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเล่นกีฬา และลดความเสี่ยงที่นักกีฬาจะเหนื่อยล้าได้ การฝึกสติอาจช่วยให้นักกีฬาเพิ่มสมาธิ และลด
ความวิตกกังวลซึ่งอาจนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการกีฬา (Bernier et al.,2009; Gardner & Moore, 2004)

โดยการควบคุมปฏิกิริยาต่อความเครียดนั้น จะส่งผลทำให้ความเครียดลดลงและช่วยควบคุมระบบหายใจได้ หากมีสติแล้วจะสามารถช่วยทำให้ระบบประสาทในส่วนของความเห็นอกเห็นใจมีมากขึ้น และทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง(Hewett et al., 2011) อัตราการเต้นของหัวใจในขณะพัก อาจทำให้สมรรถภาพทางกายดีขึ้นเนื่องจากการทำงานของหัวใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีความอดทนมากขึ้น รวมถึงรับรู้ถึงความเหนื่อยล้าได้ นอกจากนี้บุคคลที่มีสติอาจตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของระบบประสาท (Hewett et al., 2011) ซึ่งอาจนำไปสู่การควบคุมที่ดีขึ้น และจะช่วยลดความวิตกกังวลได้มากขึ้นอีกด้วย

ทางด้านจิตใจ

นักกีฬาที่มีสติในการเล่นจะสามารถเพิ่มการรับรู้ และการยอมรับสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกได้มากขึ้น และทำให้พวกเขามีความทุ่มเท ความสนใจ และพลังเวลาเล่นแสดงกีฬา (Moore, 2009)

การมีสติ รับรู้ปัจจุบันจะช่วยให้นักกีฬามีสมาธิดีขึ้น และจะช่วยให้พวกเขามีพัฒนาการทางด้านกีฬามากขึ้น (Bernier, Thienot, Codron, & Fournier, 2009;Gardner & Moore, 2004)

การมีสติ รับรู้ปัจจุบัน (Kabat-Zinn, 1994; Schmidt & Kupper, 2012; Ulmer,Stetson, & Salmon, 2010) สามารถช่วยให้นักกีฬาได้สัมผัส และคิดไตร่ตรองก่อนในแต่ละช่วงเวลา ว่าควรตอบสนองอย่างไร ไม่ว่าจะในสถานการณ์ที่ดีหรือไม่ (Bernier et al., 2009; Gardner & Moore, 2004; Thompson, Kaufman,De Petrillo, Glass, & Arnkoff, 2011)

การมีสติจะช่วยให้นักกีฬาตระหนักถึงความคิด ความรู้สึก และสิ่งเร้าภายในอื่นๆ และกระตุ้นให้นักกีฬามองเห็นคุณค่าของตนเอง มองเห็นความสามารถที่ตนเองมีที่เกี่ยวข้องกับกีฬา และการวางแผนกลยุทธ์การแข่ง แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่ผลการแข่งขันเพียงอย่างเดียว (Pineau, Glass, & Kaufman, 2014) .

การรับรู้และการยอมรับช่วงเวลาปัจจุบันนอกจากจะช่วยทำให้นักกีฬามีความคิดในแง่ลบน้อยลง ยังช่วยให้นักกีฬามีพลังมากขึ้น และมีสมาธิกับกีฬาที่เล่นอยู่ (Pineau et al., 2014)

การเจริญสติจะช่วยให้ทุกคนมีสมาธิจดจ่ออยู่กับช่วงเวลานั้นๆ และไม่จมอยู่กับอดีตหรือกังวลเกี่ยวกับอนาคต นอกจากนี้ จะช่วยให้นักกีฬาหยุดวอกแว่ก หรือสนใจกับสิ่งเร้าที่รบกวนสติอีกด้วย (Bernier et al., 2009; Gardner & Moore, 2004) การฝึกสตินั้นสำคัญสำหรับนักกีฬาอย่างมาก เนื่องจากนักกีฬาอาจจะมีความกังวล หรือกลัวว่าจะแพ้ในการแข่งขันเหมือนในอดีต หรือกังวลว่าจะทำผลงานในการแข่งขันได้ไม่มีอย่างที่ตั้งใจ และความคิดแง่ลบเหล่านี้อาจะส่งผลให้นักกีฬาไม่รู้สึกสนุกในการเล่นกีฬา

References

  • Bernier, M., Thienot, E., Codron, R., & Fournier, J. F. (2009). Mindfulness and acceptance approaches in sport performance. Journal of Clinical Sport   Psychology, 4, 320 333.
  • Gardner, F. L., & Moore, Z. E. (2004). A Mindfulness-Acceptance-Commitment-Based approach to athletic performance enhancement: Theoretical   considerations. Behavior Therapy, 35, 707-723.
  • Hewett, Z. L., Ransdell, L. B., Gao, Y., Petlichkoff, L. M., & Lucas, S. (2011). An examination of the effectiveness of an 8-week Bikram yoga program on   mindfulness, perceived stress, and physical fitness. Journal of Exercise Science & Fitness, 9(2), 87-92.
  • John, S., Verma, S. K., & Khanna, G. L. (2011). The effect of mindfulness meditation on HPA-Axis in pre-competition stress in sports performance of elite shooters, National Journal of Integrated Research in  Medicine, 2(3), 15-21.
  • Kabat-Zinn, J. (1994). Wherever you go, there you are: Mindfulness meditation in everyday life. New York: Hyperion.
  • Kingston, J., Chadwick, D., Meron, C., & Skinner, T. C. 2007. A pilot randomized control trial investigating the effect of mindfulness practice on pain tolerance,   psychological well-being, and physiological activity. Journal of PsychosomaticResearch, 62(3), 297-300.
  • Lemyre, P.-N., Roberts, G. C., Stray-Gunderson, J. (2007). Motivation, overtraining, and burnout: Can self-determined motivation predict overtraining and   burnout in elite athletes? European Journal of Sport Science, 7(2), 115-126.
  • Mamassis, G., & Doganis, G. (2004). The effects of a mental training program on juniors’ pre-competitive anxiety, self-confidence, and tennis performance.   Journal of Applied Sport Psychology, 16(2), 118-137.
  • Moore, Z. E. (2009). Theoretical and empirical developments of the Mindfulness-Acceptance-Commitment (MAC) approach to performance enhancement.   Journal of Clinical Sport Psychology, 4, 291-302.
  • Pineau, T. R., Glass, C. R., & Kaufman, K. A. (2014). Mindfulness in sport performance. In A. le, C. T. Ngnoumen, & E. J. Langer (Eds.), The Wiley Blackwell   handbook of mindfulness (Vol. II, pp. 1004-1033). Chichester, U.K.: John Wiley & Sons.
  • Schmidt, S., & Kupper, Z. (2012). German contributions to mindfulness research, part 1: Context and concept of mindfulness. Mindfulness, 1-3.
  • Stavrou, N. A., Jackson, S. A., Zervas, Y., & Karteroliotis, K. (2007). Flow experience and athletes' performance with reference to the orthogonal model of   flow. Sport Psychologist, 21(4), 438-457.
  • Thompson, R. W., Kaufman, K. A., De Petrillo, L. A., Glass, C. R., & Arnkoff, D. B. (2011). One-year follow-up of Mindful Sport Performance Enhancement   (MSPE) with archers, golfers, and runners. Journal of Clinical Sport Psychology, 5, 99-116.
  • Ulmer, C. S., Stetson, B. A., & Salmon, P. G. (2010). Mindfulness and acceptance are associated with exercise maintenance in YMCA exercisers. Behaviour   Research and Therapy, 48(8), 805-809.
  • Zeiden, F., Johnson, S. K., Diamond, B. J., David, Z., & Goolkasian, P. (2010). Mindfulness meditation improves cognition: Evidence of brief mental training.   Consciousness and Cognition, 19, 597-605.